ขอเชิญชมนิทรรศการวิจัยของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ในงาน Thailand Research Expo2018

ขอเชิญเข้าร่วมงานนิทรรศการ มหกรรมการวิจัยแห่งชาติ (Thailand Research Expo) ในระหว่างวันที่ 9-13 สิงหาคม 2561  มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2561 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยังยืน”

ในปีนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดงานในวันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม 2561

ภายในงานประกอบด้วยการประชุมและสัมมนา 4 รูปแบบมากกว่า 100 หัวข้อ, นิทรรศการ, Highlight Stage, กิจกรรม Thailand Research Symposium 2018, กิจกรรมประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา 2561, Thailand Research Expo 2018 Award, กิจกรรม Research Clinic, การจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากภาคเอกชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ในการนี้ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้นำผลงานวิจัยจำนวน 4 โครงการวิจัย มาจัดนิทรรศการในครั้งนี้ด้วย ซึ่งได้แก่

1. โครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจับยึดและพลิกคัมภีร์ใบลานอัตโนมัติสำหรับการถ่ายภาพดิจิทัลอนุรักษ์คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา”   โดย พระสุธีรัตนบัณฑิต และคณะ  เป็นงานวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจับยึดและพลิกคัมภีร์ใบลานอัตโนมัติสำหรับการถ่ายภาพดิจิทัล และ เพื่อวิเคราะห์เทคโนโลยีเครื่องจับยึดและพลิกคัมภีร์ใบลานอัตโนมัติสำหรับการถ่ายภาพดิจิทัลสำหรับการอนุรักษ์คัมภีร์ธรรมทางพระพุทธศาสนา

2. โครงการวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์ในพื้นที่อุทยานธรรมลำน้ำงาว”
นักวิจัย: นายมานิตย์ กันทะสัก   email  mr.kantasak@hotmail.com

เนื้อหาโดยย่อ: งานพุทธศิลป์เป็นเครือมือหรืออุปกรณ์สำคัญ ในการเผยแพร่คติความเชื่อและปรัชญา ทางพระพุทธศาสนาให้เป็นรูปธรรม”  เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม PAR เพื่อการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และพุทธศาสนิชน ณ หมู่บ้านภูเวียงหมู่ที่ 3 ตำบลบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยมีวัดภูเวียงเป็นจุดศูนย์กลางของพุทธศาสนิกชน ผ่านการใช้ศิลปะเป็นกลไกลหรือสะพานเชื่อมคนชุมชน และพุทธศาสนิกชน จากกิจกรรมการสร้างฐานพระพุทธรูป ด้วยเทคนิคประดับกระจกแบบล้านนา จนทำให้เกิดผลต่อชุมชนคือ เกิดอุทยานธรรมลำน้ำงาว โดยมีการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน และยังสามารถรักษา และฟื้นฟูผืนป่าของชุมชนตำบลไว้ได้จนถึงปัจจุบัน

3.โครงการวิจัยเรื่อง “ รูปแบบการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเชิงพุทธบูรณาการของชุมชนบ้านท่าลาด ต.ไฮหย่อง อ.พังโคน จ.สกลนคร”  นักวิจัย: พระมหาเกรียงศักดิ์ อินฺทปญฺโญ,ดร.  Email: pmkrieng@gmail.com

โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น

เนื้อหาโดยย่อ: สังคมทุนนิยม ส่งผลต่อปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ก่อเกิดผลกระทบต่อความเข้มแข็งของชุมชน ดังเช่นในหมู่บ้านท่าลาดต.ไฮหย่อง อ.พังโคน จ.สกลนคร อย่างไรก็ตามโครงสร้างทางสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชาวบ้านยังเป็นกาวใจหล่อหลอมให้คนในชุมชนให้ยังคงสานความสัมพันธ์กันอยู่อย่างหละหลวม ซึ่งโครงการวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับชาวบ้าน(PAR) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีในอดีตของชุมชนบ้านท่าลาด  เพื่อศึกษาพัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงของชุมชน และปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของคนในชุมชน และเพื่อสร้างรูปแบบการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีของคนในชุมชนบ้านท่าลาดที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

4. โครงการวิจัยเรื่อง  “โบราณคดีดอยเวียง ดอยวง แหล่งเรียนรู้ชุมชน: การจัดการ การอนุรักษ์และการสร้างเครือข่าย”

นักวิจัย: นางสาวอมลณัฐ ไฝเครือ  Email: praew_prf@hotmail.com
โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น   

เนื้อหาโดยย่อ: การวิจัยแบบปฏิบัติการมีส่วนร่วมของชุมชน(PAR)เพื่อค้นหาการแก้ไขปัญหาของชุมชนในด้านการจัดการแหล่งโบราณคดีชุมชน ของชุมชนบ้านเหล่าพัฒนา ต.ป่าแดด อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ทำให้ได้ผลเชิงพัฒนา คือ คนในชุมชนเกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งโบราณคดีชุมชน ดอยเวียงดอยวง อีกครั้ง/ชุมชนได้รับการพัฒนา แก้ไขปัญหา โดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น/มีการสร้างเครือข่ายระหว่างชุมชนกับหน่วยงานองค์กรภาครัฐและเอกชนได้มากขึ้น/ เกิดการจัดการของชุมชนเป็นระบบแบบแผนมากขึ้น

 

Loading

Scroll to Top