สำนักงานส่งเสริมความร่วมมือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

หน่วยอบรม ประชาชน ประจำตำบล

อ.ป.ต. นะ อย่าสับสน
“ป.ปลา” ไม่ใช่ “บ.ใบไม”้
(เพลง อ.ป.ต. ขอใจ ศิลปิน ครูสลา คุณวุฒิ ผู้แต่ง ช่อฟ้า ใบเตย)

     คําว่า อ.ป.ต. หรือชื่อเต็มว่า หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล อาจเป็นคําที่หลายท่านไม่ค่อยคุ้นหู เท่าใดนัก

     แตกต่างจากคําว่า อบต. หรือ องค์การบริหารส่วนตําบล ที่มักจะติดหูเพราะได้รับการกล่าวถึงจาก ช่องทางต่าง ๆ มากกว่า

     อย่างไรก็ตาม หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) ไม่ใช่คําใหม่ หากแต่เป็นคําที่เกิดขึ้นมาอย่าง ยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518

     ในขณะที่ องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ตามพระราชบัญญัติสภา ตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 (โกวิทย์ พวงงาม, 2543: 170)

     นั่นแสดงให้เห็นว่า หากเปรียบเทียบการเกิดขึ้นระหว่างคําว่า อ.ป.ต. กับ อบต. แล้ว
อ.ป.ต. จึงเป็นคําที่เกิดขึ้นมาก่อน อบต. อย่างน้อยก็เป็นเวลาเกือบ 19 ปี
คําถามคือเหตุใด หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล กลับเป็นคําที่ได้รับการรับรู้จากสังคมน้อยมาก

     บทความนี้จะนําพาทุกท่านทําความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลให้มากขึ้น ทั้งในเรื่องของหลักการและแนวคิด

     รวมทั้งความพยายามของคณะสงฆ์และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการที่จะช่วยกันรื้อฟื้นความสําคัญของ อ.ป.ต. ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่นําไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา

หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) กับพันธกิจ 8 ด้าน

แนวคิดพื้นฐานของ อ.ป.ต. คือ

การส่งเสริมและสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

ตามหลักการของพระพุทธศาสนา
(จรถ ภิกฺขเว จาริกํ….)

     หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) เป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้น จากความริเริ่มของคณะสงฆ์

โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง

ให้การก่อตั้ง มี วัตถุประสงค์ที่สําคัญดังนี้

❖ สงเคราะห์ประชาชนภายในตําบลนั้น ๆ เพื่อให้ช่วยเหลือ-พึ่งพา ตนเองได้

❖ เป็นการทํางานแบบบูรณาการระหว่าง วัด บ้าน รัฐ โรงเรียน (บวร) เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ดี มีความสามารถ มีพฤติกรรมดี และ นําไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน

❖เป็นศูนย์การทํางานด้านสาธารณสงเคราะห์และการเรียนรู้ของตําบลนั้น ๆ
❖ พิทักษ์คุ้มครองประชาชนในตําบลนั้น ให้อยู่เป็นปกติสุข ด้วยความรักความเข้าใจกัน

❖ สนับสนุนนโยบายคณะสงฆ์ นโยบายรัฐเพื่อสร้างความอยู่ดี กินดี มีสุขของประชาชน

❖ สนับสนุนอาชีพสุจริต การทํางานที่ถูกต้องเป็นธรรม

บทบาทพระสงฆ์กับการทำงานสุขภาวะอย่างยั่งยืน

     และเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยง่าย หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลจึงได้สรุปเป็นพันธกิจไว้ทั้งสิ้น 8 ดา้ น เพื่อให้สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม

❖ ศีลธรรมและวัฒนธรรม

❖ สุขภาพอนามัย

❖ สัมมาชีพ
❖ สันติสุข
❖ ศึกษาสงเคราะห์
❖ สาธารณสงเคราะห์
❖ กตัญญูกตเวทิตาธรรม (สนองคุณ)

❖ สามัคคี

     พระเทพปวรเมธี, รศ.ดร. ประธานคณะกรรมการประสานงาน แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการ พระพุทธศาสนา (คปพ.) เป็นพระสังฆาธิการที่มีบทบาทในการปฏิรูปกิจการคณะสงฆ์ และเป็นหนึ่งในพระ วิทยากรที่มีส่วนสําคัญในการรื้อฟื้นงานของ อ.ป.ต.

     ท่านได้ช่วยสรุปให้พันธกิจทั้ง 8 ด้านดังกล่าว ให้สามารถจดจําได้ง่ายขึ้น โดยเรียกพันธกิจดังกล่าวไว้ ว่า “พันธกิจ 8 ส.” เป็นการเปลี่ยนจากคําว่า กตัญญูกตเวทิตาธรรม ไปเป็น สนองคุณ

     ทั้งนี้ หากมองอย่างผิวเผิน พันธกิจทั้ง 8 ด้าน เป็นงานที่คณะสงฆ์ทําอยู่เป็นปรกติ หากแต่ที่ผ่านมา คณะสงฆ์หรือพระสงฆ์ที่เป็นผู้ปฏิบัติการ ไม่ได้มีการสรุปหรือรายงานอย่างเป็นรูปธรรม

     สิ่งนี้จึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อน โครงการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธ ของหน่วยอบรมประชาชน ประจําตําบล (อ.ป.ต.) ในสังคมไทย โดยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนจาก สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อรื้อฟื้นความสําคัญและ สร้างกระบวนการพัฒนาศักยภาพให้กับหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) ทั่วประเทศไทย

การพัฒนาศักยภาพให้กับหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.)

     ในปัจจุบัน หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) มีอยู่ทั้งสิ้น 5,992 หน่วย ตั้งอยู่กระจายทั่ว ประเทศในทุกภูมิภาค

     หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) เหล่านี้ ล้วนมีบทบาท หน้าที่ ในการทํางานร่วมกับชุมชน มาอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างที่กล่าวในเบื้องต้นไว้ว่า อ.ป.ต. ส่วนใหญ่ยังขาดวิธีการในสื่อสารและการจัดทํา ข้อสรุปเกี่ยวกับงานที่ตนเองได้ทําร่วมกับชุมชน จะมีข้อยกเว้นบ้างในบางหน่วยที่สามารถแสดงผลงานที่เป็น รูปธรรมสู่สังคมได้อย่างเช่นเจน อาทิ

     หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลหัวง้ม โดยพระครูสุจิณกัลป์ยาณธรรม ที่ขับเคลื่อนกิจกรรม “ธนาคารความดี” แปรสภาพความดีที่เป็นนามธรรมให้กลายเป็นรูปธรรม สร้างแรงจูงใจให้คนในชุมชนร่วมกัน ทําความดีเพื่อส่วนรวม

     หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลโหล่งขอด โดยพระครูวรวรรณวิวัฒน์ ที่ส่งเสริมอาชีพให้กับ ชาวบ้านในชุมชน การสร้างศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประจําตําบล จัดตั้งคณะกรรมการในการดูแลป่าจํานวน หลายแสนไร่ และก่อตั้งธนาคารชุมชนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการออม เรียกว่าทํางานครบถ้วนในเกือบทุกมิติ

     หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลวัดดงตะขบ โดยพระครูปริยัติวโรภาส ที่ฝึกทักษะให้กับชาวบ้าน ในเรื่องของงานจักรสานไม้ไผ่ ใช้ไม้ไผ่ในการทําอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นศาลาไม้ไผ่ เก้าอี้ไม่ไผ่ ฯลฯ สามารถ ส่งขายให้กับกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจ สร้างเป็นรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชน

     โครงการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธ ของหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) ใน สังคมไทย จึงได้ตั้งโจทย์การวิจัยไว้ว่า จะทําอย่างไรให้หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลที่มีอยู่ทั่วประเทศ สามารถฉายภาพการทํางาน ได้รับการพัฒนาศักยภาพ และสามารถตอบสนองต่อสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง ภายใต้ทุนที่มีอยู่ในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม

     นําไปสู่การจัดอบรม “การพัฒนาศักยภาพให้กับพระสงฆ์ประจําหน่วยอบรมประชาชนประจํา ตําบล” ในพื้นที่ภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย (แต่ละเวทีจะแบ่งเป็นภาคการปกครองของคณะสงฆ์ อาทิ ภาค 4 ได้แก่จังหวัด นครสวรรค์ กําแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์) โดยที่ผ่านมา ทางโครงการได้จัดการอบรมไปแล้ว ทั้งสิ้น 9 เวทีด้วยกัน ได้แก่

     1) เวทีภาคที่ 2-3 จัดขึ้นที่ วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2) เวทีภาคที่ 4-5 จัดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร
3) เวทีภาคที่ 6-7 จัดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลําพูน
4) เวทีภาคที่ 8-9 จัดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
5) เวทีภาคที่ 10-11 จัดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
6) เวทีภาคที่ 12-13 จัดขึ้นที่ วัดใหม่กรงทอง จังหวัดปราจีนบุรี
7) เวทีภาคที่ 14-15 จัดขึ้นที่ วัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม
8) เวทีภาคที่ 16-17 จัดขึ้นที่ วัดพัฒนาราม พระอารามหลวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
9) เวทีภาคที่ 18 จัดขึ้นที่ วัดนาทวี จังหวัดสงขลา
และจะจัดเวทีที่ 1 เป็นเวทีสุดท้าย ในระหว่างช่วงเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ ซึ่งในแต่ละเวทีได้รับเมตตาจากพระนักวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ ในการบรรยายถวายความรู้ให้กับพระสังฆาธิการที่เข้ารับ การอบรม อาทิ

     พระเทพปวรเมธี, รศ.ดร. บรรยายในหัวข้อ การพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ของหน่วยอบรมประชาชน ประจําตําบล ที่มุ่งสร้างความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่ส่งผลให้บทบาทขององค์การทาง พระพุทธศาสนาต้องปรบเปลี่ยน หลักการทํางานเชิงบูรณาการที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันไม่มีหน่วยงานใดที่สามารถทํางานได้โดยลําพัง การยึดโยงการทํางานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ในระดับใหญ่ ระดับกลาง และระดับเล็ก และทิ้งทวนในประเด็นสุดท้ายที่ว่า จะทําอย่างไรให้วัดของตนเอง ได้รับการพัฒนา และสามารถตอบสนองต่อชุมชนได้อย่างเหมาะสม

     พระเทพเวที, รศ.ดร. บรรยายในหัวข้อ การพัฒนากิจกรรมและโครงการพัฒนาของหน่วยอบรม ประชาชนประจําตําบล เป็นการพัฒนาศักยภาพให้กับพระสงฆ์เกี่ยวกับกระบวนการเขียนโครงการ การ แสวงหาประเด็นปัญหา การวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ในพื้นที่ พร้อมทั้งการวิเคราะห์ถึงแนวทางในการแก้ไข ปัญหา และความคาดหวังที่มีต่อพื้นที่ของตนเองในอนาคต

     พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. บรรยายในหัวข้อ การพัฒนางานหน่วย อ.ป.ต. ในยุคไทยแลนด์ 4.0 เป็น การบรรยายเพื่อมุ่งหวังให้พระสงฆ์ที่เข้าร่วมการอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับที่มาที่ไปของหน่วย อบรมประชาชนประจําตําบล แนวคิดพื้นฐาน รูปแบบการพัฒนากิจกรรมเพื่อให้สอดรับกับยุคไทยแลนด์ 4.0 เป็นการจุดประกายให้พระสงฆ์ที่เป็นประธานหน่วย เกิดแรงจูงใจที่อยากจะพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งยังเป็นการท้าทายให้เกิดการคิดค้นกิจกรรมในรูปแบบของโครงการใหม่ ๆ ให้ แนวทางในการแสวงหาเครือข่ายจากภายนอกที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสนับสนุนงานในครั้งนี้

     นอกจากพระนักวิทยากรที่กล่าวมาในเบื้องต้นแล้ว ทางโครงการยังได้รับเมตตาจากพระสังฆาธิการที่ เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะภาคต่าง ๆ ที่ได้มาเป็นประธานเปิดการอบรม ซ้ํายังประทานโอวาทที่เกี่ยวข้องกับตัว นโยบายของกิจการคณะสงฆ์ ความคาดหวังที่มีเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ต่อสังคม แสดงให้เห็นถึงความเห็น ดีเห็นงามของคณะสงฆ์เอง ที่มีความประสงค์ไม่ต่างกันเกี่ยวกับแนวทางในการรื้อฟื้นความสําคัญของหน่วย อบรมประชาชนประจําตําบลในสังคมไทย

     เนื้อหาการอบรมนอกจากจะเป็นการบรรยายถวายความรู้แล้ว ยังมีในส่วนของการลงพื้นที่เพื่อศึกษาดู งาน โดยในแต่ละเวที ทางโครงการจะคัดเลือกพื้นที่หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลต้นแบบ ที่มีผลงานเชิง รูปธรรม เพื่อให้พระสงฆ์ที่เข้าร่วมอบรมได้เห็นถึงแนวคิด วิธีการ และผลลัพธ์ในการพัฒนาหน่วยอบรม ประชาชนประจําตําบลให้ประสบความสําเร็จ

เรื่องเล่าจากพื้นที่หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) ต้นแบบ

สานไม้ไผ่ สานสัมพันธ์ สานสัมมา(อา)ชีพ

     แนวทางการพัฒนาอาชีพของหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) มีอยู่หลากหลายวิธี โดยถือ เป็นหนึ่งในพันธะกิจหลัก 8 ประการ ของ อ.ป.ต. ก็คือ ในเรื่องของ สัมมาชีพ หลายพื้นที่มีการใช้ทุนที่มีอยู่ให้ เกิดประโยชน์กับคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นทุนทางทรัพยากร ทุนทางองค์ความรู้-ทักษะ ทุนทางสังคม เป็นต้น ผลลัพธ์ดังกล่าวสะท้อนผ่านสิ่งของเครื่องใช้ ไม่ว่าจะเป็นผ้ามัดย้อม ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่เป็นอาหารหรือของใช้ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กบัผลิตภัณฑ์และเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี

     ศูนย์การเรียนรู้วัดดงตะขบ ตําบลดงตะขบ อําเภอดงตะขบ จังหวัดพิจิตร ถือเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในชุมชนได้อย่างคุ้มค่า แต่เดิมนั้น พื้นที่มีปริมาณของต้นไผ่จํานวนมาก อีกทั้งชาวบ้านใน พื้นที่ก็มีทักษะการสานไม้ไผ่ติดไม่ติดมือมาตั้งแต่อดีต ผ่านการส่งต่อและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ผลิตภัณฑ์ที่ทํา จากไม้ไผ่ดังกล่าวยังเป็นไปเพื่อการใช้สอยภายในครัวเรือน ไม่ได้มีไว้เพื่อการค้าขายในเชิงธุรกิจแต่อย่างใด

     พระครูปริยัติวโรภาส เจ้าอาวาสวัดดงตะขบ จึงได้เห็นแนวทางที่จะใช้ไม้ไผ่ในการสร้างอาชีพให้กับ ชุมชน จึงได้เปิดพื้นที่วัดให้กลายเป็นที่ฝึกอบรมทักษะการสานไม้ไผ่ และเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้เข้ามาใช้พื้นที่ วัดในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มาจากไม้ไผ่ ในแต่ละวันจะมีชาวบ้านผู้สูงอายุที่ว่างจากการทําไร่-นา เข้ามาช่วยกัน สร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และนําออกขายไปยังพื้นที่ใกล้เคียง สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน อีกทั้งยัง สามารถสงเคราะห์รายได้ส่วนหนึ่งให้กับวัดเพื่อใช้ในการบํารุงพระพุทธศาสนาได้อีกด้วย

     หลวงพ่อเจ้าอาวาสได้เล่าให้ฟังว่า “การสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านนั้นเป็นเป้าหมายอันดับแรก แต่ นอกจากชาวบ้านจะเกิดรายได้ วัดเองก็ได้รับการทํานุบํารุงจากชาวบ้านที่เข้ามาใช้ประโยชน์ภายในวัด ตอนนี้วัด เปรียบเสมือนเป็นพื้นที่ให้ผู้สูงอายุเข้ามาแลกเปลี่ยน พูดคุย ปรึกษาหารือ เกิดเป็นการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง กลุ่มคน เหล่านี้เวลาที่วัดหรือชุมชนมีงานอะไร ก็จะร่วมไม้ร่วมมือกันเป็นอย่างดี”

     สิ่งที่หลวงพ่อได้เล่าให้ฟังในเบื้องต้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หากแต่เกิดจากความตั้งใจ การ วางแผนที่เป็นขั้นเป็นตอน ดังสะท้อนให้เห็นผ่านรูปแบบของคณะกรรมการวัดที่มีโครงสร้างหน้าที่ชัดเจน คนไหน รับผิดชอบเรื่องอะไร ช่วงไหนจะมีงานใดเกิดขึ้นบ้าง อีกทั้งยังมีรูปแบบการรายงานผลกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม สามารถมองเห็นและจับต้องได้ การศึกษาดูงานในพื้นที่แห่งนี้จึงเป็นประโยชน์ในแง่ของวิธีการในการพัฒนาวัด ที่ จะต้องมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มหรือเครือข่าย มีการแบ่งหน้าที่ สร้างกฎเกณฑ์ และจําเป็นที่จะต้องรายงานผลการ ดําเนินงานให้เป็นที่ประจักษ์ชัด ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญที่พระสงฆ์จําเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพในเรื่องนี้

การใช้ที่นาในการสร้างความสมานฉันท์ปรองดอง

    เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นปัญหาความรุนแรงที่อยู่คู่กับพื้นที่มาเป็น เวลานาน มีความซับซ้อน และละเอียดอ่อน การแก้ไขปัญหาจึงเป็นไปด้วยความยากลําบาก ต้องอาศัยความรัก และความเข้าใจในการแก้ไขปัญหา

     ศูนย์การเรียนรู้หลวงพ่อภัตร ตําบลนาหมอศรี อําเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ ปัญหาความรุนแรงดังกล่าว โดยหลวงพ่อพระครูสุวัฒนาภรณ์ หรือที่รู้จักกันในชื่อหลวงพ่อภัตร อริโย มี ความคิดริเริ่มที่อยากจะทําให้สถานการณ์ความรุนแรงดังกล่าวได้รับการบรรเทาและเยียวยารักษา หลวงพ่อ ภัตรเล่าให้ฟังว่า “หลังจากที่ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ถือกําเนิดขึ้น ก็ไม่มีเสียงระเบิดหรือเสียงปืนในพื้นที่อีกเลย”

     “อําเภอนาทวี ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีจํานวนมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากร ทั้งหมด การใช้ศาสนาเพื่อสานสัมพันธ์ให้เกิดมิตรไมตรีนั้น จึงไม่สามารถใช้คําว่าพุทธศาสนาได้ จะใช้ได้ก็แต่ เพียงคําว่า “ศาสนา” แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ได้ขัดกับจุดมุ่งหมาย เพราะทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีแทบ ทั้งสิ้น กิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าวประสบความสําเร็จได้ด้วยดีก็เพราะว่า ทุกกิจกรรมวางอยู่บน พื้นฐานของความเป็นมนุษย์ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข พุทธ คริสต์ อิสลาม สามารถอยู่ร่วมกันได้ ภายใต้การ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน”

     “โครงการพลิกนาร้าง สร้างนารักษ์” เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ของความรัก ความเข้าใจ และการให้ เกียรติซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี พื้นที่นาจํานวนหลายร้อยไร่ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านแหลกลาง ถูกเนรมิตพลิก ฟื้นด้วยแรงกาย แรงใจ จนแปรสภาพจากที่นาทิ้งร้างให้การเป็นที่นาที่อุดมสมบูรณ์ ภายใต้ความร่วมแรงร่วมใจ ของชาวบ้านจํานวนหลายร้อยคน ภาคส่วนราชการ เอกชน และภาคประชาสังคม การใช้พื้นที่นาเป็นสื่อกลาง ในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ถือเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่ชาญฉลาดเป็นอย่างยิ่ง ผ่านการใช้ศาสนา เป็นเครื่องมือในการหนุนเสริมเพื่อการพัฒนาจิตใจให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

     การศึกษาดูงานในพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ เปรียบเสมือนเป็นการให้แนวคิด ปลุกอุดมการณ์ เพื่อให้ พระสงฆ์ที่เป็นประธานหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลสามารถนําสิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงานไปปรับ ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ของตนเองได้ เพื่อเป็นการสนองงานกิจการคณะสงฆ์ และตอบสนองกับ ภาระงานทั้ง 8 ด้านของหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล สร้างสรรค์สังคมไทยให้มีความสงบสุขต่อไป

     ท้ายที่สุด การพัฒนาศักยภาพของหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) ยังจําเป็นที่จะต้อง ได้รับการพัฒนา รื้อฟื้นความสําคัญ และส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าที่เคยเป็น เนื่องจาก อ.ป.ต. ถือเป็นหน่วยงานทางพระพุทธศาสนาที่เปรียบเสมือนเป็นหน้าด่านและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชุมชน มากที่สุด หาก อ.ป.ต. สามารถเป็นศูนย์กลางในการเป็นที่พึ่งให้กับชุมชนได้แล้ว ชุมชนและสังคมก็จะเกิด ความสุข ความยั่งยืน สามารถตอบสนองประชาชนในมิติทางจิตใจที่ในปัจจุบันไม่มีหน่วยงานใดให้การตอบนอง ได้ สามารถส่งเสริมให้ชุมชนอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน และนําไปสู่การส่งต่อความเป็นมนุษย์ซึ่งกัน และกันได้อย่างสันติสืบไป

ที่มา : https://www.buddhistfordev.com/event97

Loading

Scroll to Top