สมัยล้านนาสมัยพม่าปกครอง

ช่วง เวลานี้กษัตริย์พม่าคงส่งเฉพาะผู้มีอำนาจแทนมาปกครอง หากแต่ยังคงระเบียบและวิถีวัฒนธรรมบบเดิมไว้จึงไม่ส่งผลกระทบให้กับสังคม ล้านนามากนัก และคงไม่ส่งผลให้กับการสร้างงานสถาปัตยกรรมแต่อย่างใด

ตัวอย่างสำคัญของงานสถาปัตยกรรมในช่วงนี้ ( ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 )

มณฑประเจ้าล้านทอง วัดพระธาตุลำปางหลวง เมืองลำปาง เป็นรูปแบบงานสถาปัตยกรรมที่พัฒนาขึ้นจากรูปแบบโขงปราสาทหรือที่ชาวล้านนา ทั่วไปเรียกว่า ” โขงพระเจ้า ” มณฑปพระเจ้าล้านทองนี้สันษฐานว่า น่าจะเป็นงานสร้างในราว พ.ศ. 2106 มีรูปแบบสำคัญคือการใช้ซุ้มจระนำที่มีหางนาคเกี้ยวกระหวัดเป็นยอดกลางซุ้ม และการซ้อนชั้นหลังคาที่ลดหลั่นกัน 3 ชั้น นอกจากนี้ โขงปราสาทยังปรากฏที่วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ด้วย รูปแบบสถาปัตยกรรมโขง น่าจะชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการหลังจากโขงมณฑปพระแก่นจันทร์แดง ที่วัดเจ็ดยอดมหาโพธาราม เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง :
สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ , เที่ยววัดเที่ยววา ชมปูนปั้นล้านนา ( กรุงเทพฯ : สายธาร, 2544 )
วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง,สถาปัตยกรรมในเมืองเชียงใหม่ ( เชียงใหม่ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2545 )
วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง,สถาปัตยกรรมลำพูน ( เชียงใหม่ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2545 )
สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญไชย – ล้านนา ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,2538 )
เสนอ นิลเดช,ศิลปสถาปัตยกรรมล้านนา ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,2538 )
เสนอ นิลเดช,ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย ( กรุงเทพฯ : โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538 )

สมคิด จิระทัศนกุล, วัด : พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย ( กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,)
วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์,วิหารล้านนา ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,2544 )
วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์,รายงานการวิจัยเรื่องวิหารปราสาทในเขตภาคเหนือตนบน
( เชียงใหม่ : ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2545)
พิริยะ ไกรฤกษ์,ประวัติศาสตร์ศิลปะไทยฉบับคู่มือนักศึกษา ( กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิง)
จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา, พระเจดีย์เมืองเชียงใหม่ ( กรุงเทพฯ : วรรณรักษ์,2539 )
จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา, พระเจดีย์เมืองเชียงแสน ( กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ ,2539 )