สมัยเมืองประเทศราช และเมืองขึ้นของสยาม

เป็น การปรับเปลี่ยนยุคสมัยจากราชวงศ์มังราย และสมัยพม่าปกครง เป็นราชวงศ์เชื้อเจ็ดตน สมัยนี้ล้านนาเกี่ยวข้องกับราชธานีศูนย์กลางอำนาจใหม่คือ ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ถือเป็นยุคของการฟื้นฟูบ้านเมืองหรือที่เรียกว่า ” เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ” ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธ์นี้เองจึงอาจเป็นที่มาของงานสถาปัตยกรรมที่ หลากหลายเช่นกัน

ศูนย์กลางอำนาจเดิมยังคงอยู่ที่เชียงใหม่ แต่อย่างใรก็ตามอำนาจของเมืองต่าง ๆ คือ เมืองลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน คงมีเท่าเทียมเป็นอิสระต่อกันดังนั้นจึงถือได้ว่างานสถาปัตยกรรมในช่วงนี้มี ความหลากหลายทางด้านรูปแบบละคงเอกลักษณ์เป็นงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไว้อย่าง มาก

หลักฐานงานสถาปัตยกรรมในช่วงนี้ปรากฏทั้งงานสถาปัตยกรรมเนื่องในพุทธศาสนา ทั้งเจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอไตร โขงพระเจ้า เป็นต้น และสถาปัตยกรรมที่อยู่าศัย อาทิสถาปัตยกรรมชนชั้นปกครอง เช่น หอคำ เค้าสนามหลวง คุ้มเจ้านาย เป็นต้น และบ้านเรือนที่อยู่าศัย เป็นต้น

สถาปัตยกรรมเนื่องในศาสนาช่วงเวลานี้มีตัวอย่างสำคัญเช่น
เจดีย์ เจดีย์วัดพระธาตุจอมยอง เมืองลำพูน ที่มีรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับเจดีย์ที่เมืองยอง ในเขตรัฐฉาน ประเทศพม่า ทั้งนี้เป็นผลจากการอพยพชาวยองหรือชาวลื้อเข้ามาอยู่ในดินแดนล้านนา

วิหาร วิหารจามเทวี วัดปงยางคก เมืองลำปาง ในเขตเชียงใหม่พบวิหารจำนวนมาก เช่น วิหารวัดต้นแกว๋น วิหารวัดป่าแดด วิหารวัดบวกครกหลวง เป็นต้น วิหารเหล่านี้ยังคงสืบทอดรูปแบบวิหารแบบเดิม โดยใช้หลังคาซ้อนกันเป็นตับ ระบบโครงสร้างม้าต่างไหม และประดับตกแต่งด้วยงานลายคำ งานแกะไม้ และงานปูนปั้น

งานประดับสถาปัตยกรรมในช่วงนี้นิยมใช้กระจกจืนหรือกระจกเกรียบประดับ นอกจากนั้นยังปรากฏรูปแบบวิหารทรงปราสาท ดังตัวอย่างเช่นวิหารวัดปงสนุก เมืองลำปาง , วิหารวัดปราสาท เมืองเชียงใหม่ เป็นต้น

อุโบสถ อุโบสถสองสงฆ์ วัดพระสิงห์ เมืองเชียงใหม่ ยังคงสืบทดรูปแบบวิหารสกุลช่างเชียงใหม่ไว้ย่างลงตัว

หอไตร หอไตรวัดดวงดี , หอไตรวัดฟ่อนสร้อย เมืองเชียงใหม่ เป็นต้น หอไตรเหล่านี้ใช้เป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์ใบลานและพับสาต่าง ๆ นอกจากนี้ยังปรากฏหอไตรกลางน้ำด้วย ดังเช่นหอไตรวัดพุทธเอิ้น แม่แจ่ม เชียงใหม่ เป็นต้น

หอคำ หอคำลำปาง ( พบหลักฐานจากภาพถ่ายเก่า ปัจจุบันไม่ปรากฏแล้ว ) หอคำพระเจ้ามโหตรประเทศ เมืองเชียงใหม่ ได้ย้ายจากที่เดิมมาเป็นวิหารวัดพันเตาในปัจจุบัน

คุ้มเจ้านาย ปรากฏทั่วทุกเมืองในล้านนาช่วงเวลานี้ ส่วนใหญ่ปรากฏหลักฐานเป็นคุ้มเจ้านายในสมัยหลัง ใช้อาคารก่อิฐถือปูน ดังตัวอย่างสำคัญที่คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ เมืองเชียงใหม่

นอกจากนั้นในช่วงเวลานี้ยังคงปรากฏสิ่งก่อสร้างเนื่องในวัฒนธรรมการถือผี ด้วย กล่าวคือ คงมีการสร้างหอผีอันเป็นความเชื่อในเรื่องผีรักษาพื้นที่ อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือหอผีในพื้นที่สาธารณะ โดยมักจะเรียกว่า ” หอเสื้อ ” ดังเช่น หอเสื้อวัด หอเสื้อธาตุ ( ผีรักษาพระเจดีย์ ) เป็นต้น นิยมก่อสร้างเป็นงานก่ออิฐถือปูนอาจมีหรือไม่มีการประดับตกแต่งก็ได้

และหอผีในที่อยู่อาศัยอันเกี่ยวข้องกับผีบรรพบุรุษ หรือที่เรียกว่า ” ผีปู่ย่า ” โดยส่วนใหญ่ใช้เป็นอาคารหลังคาคลุมมีรูปแบบคล้ายกับเรือนที่อยู่อาศัยจริง

สถาปัตยกรรมในวามเชื่อเรื่องผีนี้คงเริ่มปรากฏหลักฐานอย่างเด่นชัดในสมัยนี้ และน่าจะส่งอิทธิพลหรือมีการสืบทอดรูปแบบมาสู่ยุคปัจจุบันด้วย

สำหรับอาคารที่อยู่อาศัยของชนชั้นปกครองระดับล่าง ( พญาต่าง ๆ, พ่อแค่วน แก่บ้านเป็นต้น ) หรือผู้คหบดีหรือ คงเป็นบ้านเรือนที่ใช้ไม้แข็งแรงสร้าง โดยนิยมเป็นเรือนใหญ่และเรือนเล็กอยู่ในพื้นที่เดียวกัน นิยมประดับกาแลในส่วนยอดจั่ว และหำยนต์ในส่วนเหนือกรอบประตู ดังเช่น เรือนพญาวงศ์ เป็นต้น สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยเหล่านี้มีการรวบรวมไว้ที่สำนักส่งเสริมศิลป วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่วนชนชั้นล่างนั้นคงอาศัยบ้านเรืนขนาดเล็ก หรือใช้วัสดุที่หาง่ายละไม่เสียค่าใช้จ่ายมากนักตามวิถีชีวิตของชาวล้านนา

แหล่งอ้างอิง :
สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ , เที่ยววัดเที่ยววา ชมปูนปั้นล้านนา ( กรุงเทพฯ : สายธาร, 2544 )
วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง,สถาปัตยกรรมในเมืองเชียงใหม่ ( เชียงใหม่ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2545 )
วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง,สถาปัตยกรรมลำพูน ( เชียงใหม่ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2545 )
สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญไชย – ล้านนา ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,2538 )
เสนอ นิลเดช,ศิลปสถาปัตยกรรมล้านนา ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,2538 )
เสนอ นิลเดช,ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย ( กรุงเทพฯ : โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538 )
วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์,วิหารล้านนา ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,2544 )
วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์,รายงานการวิจัยเรื่องวิหารปราสาทในเขตภาคเหนือตนบน
( เชียงใหม่ : ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2545)
ชาญณรงค์ ศรีสุพรรณ, ” วิหารที่สร้างในกระบวนการครูบาศรีวิชัย ”
( วิทยานิพนธ์ศิลปศาสาตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 25)
ชาญณรงค์ ศรีสุพรรณ, รายงานการวิจัยเรื่อง สถาปัตยกรรมเนื่องในความเชื่อเรื่องผีในเมืองเชียงใหม่
( เชียงใหม่ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546)
จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา, พระเจดีย์เมืองเชียงใหม่ ( กรุงเทพฯ : วรรณรักษ์,2539 )
จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา, พระเจดีย์เมืองเชียงแสน ( กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ ,2539 )
เธียรชาย อักษรดิษฐ์, หอคำ คุ้มแก้ว มณีแสงแห่งนครา