วช. ร่วมกับ มศว และ มจร. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อหลักสูตร “วิทยากรหลักสูตรสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” และหลักสูตร “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) : ภาคกลาง

วช. ร่วมกับ มศว และ มจร. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อหลักสูตร “วิทยากรหลักสูตรสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” และหลักสูตร “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) : ภาคกลาง
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อหลักสูตร “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ วช.” และ “วิทยากรสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ วช.” (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) โดยมีกำหนดจัดขึ้นใน 4 ภูมิภาค ซึ่งครั้งนี้จัดโดยได้รับความร่วมมือผ่านมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะหน่วยงานเครือข่ายด้านการวิจัย (ผู้จัด) ทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานเครือข่ายด้านการวิจัย (ผู้จัด) วิทยากรที่เคยผ่านการฝึกอบรมโครงการฝึกอบรม “วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย” (Training for the trainers) (แม่ไก่) และผู้ที่เคยผ่านการฝึกอบรมโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) ในภูมิภาค: ภาคกลาง
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นวดล เพ็ชรวัฒนา หัวหน้าโครงการศึกษาแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการจัดอบรมโครงการ “วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย” (Training for the trainers) (แม่ไก่) และ “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรและรูปแบบในการดำเนินโครงการฝึกอบรม “วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย” (Training for the trainers) (แม่ไก่) และโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) โดยมีพระครูสุธีกิตติบัณฑิต, รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้การต้อนรับ
การประชุมครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.นวดล เพ็ชรวัฒนา ได้ชี้แจงรายละเอียด พร้อมด้วย แนวทางในการดำเนินงานและการพัฒนาหลักสูตร โครงสร้างและรายละเอียดหลักสูตร การประเมินผลการฝึกอบรม การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม บทบาทของหน่วยงานเครือข่ายด้านการวิจัย (ผู้จัด)บทบาทของผู้ทรงคุณวุฒิ และการประกันคุณภาพและมาตรฐานหลักสูตรพร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้ที่เคยผ่านการฝึกอบรมโครงการฝึกอบรม “วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย” (Training for the trainers) (แม่ไก่) และผู้ที่เคยผ่านการฝึกอบรมโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) และผู้ประสานงานจากหน่วยงานเครือข่ายด้านการวิจัย (ผู้จัด) ในภาคกลางเข้าร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเช่น รูปแบบการจัดโครงการฝึกอบรม ระยะเวลาของการฝึกอบรม เนื้อหาและหมวดวิชาที่ทันสมัยเพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรม รวมถึงสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นต้น ซึ่งคณะนักวิจัยจะได้รวบรวมความคิดเห็นเพื่อนำไปใช้ปรับปรุงหลักสูตรและรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดทำหลักสูตรพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับบริบทสถานการณ์ในปัจจุบัน และจัดทำหมวดวิชาที่มีเนื้อหาครอบคลุมและทันสมัย รวมทั้งวางแนวทางการพัฒนาบุคลากรวิจัย และนวัตกรรมที่สามารถเชื่อมโยงกับการรับรองสมรรถนะทางวิชาชีพและการรับรองมาตรฐานหลักสูตรเพื่อนำไปสู่การสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพสู่ระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศต่อไป

Loading

Scroll to Top
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.