เจาะลึก “ Platform 1 : การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ ” พร้อมตัวอย่างแผนงาน / โครงการที่สำคัญ ….

[ad_1]

🔊📍 เจาะลึก “ Platform 1 : การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ ” พร้อมตัวอย่างแผนงาน / โครงการที่สำคัญ

…จากนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. พ.ศ.2563-2570 มีการวางกรอบแพลตฟอร์มการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์ ทั้งหมด 4 แพลตฟอร์ม

" ในส่วนของโพสนี้ มาทำความรู้จักกับแพลตฟอร์มแรกกันครับ "

แพลตฟอร์มที่ 1: การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ 👨‍🔬🔎

แพลตฟอร์มนี้ถือเป็นวาระในการพัฒนากำลังคนในประเทศให้มีความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับการทำงานและการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือได้ว่าการลงทุนในทรัพยากรบุคคลและสถาบันความรู้นั้น เป็นการลงทุนในระยะยาว ที่จะสามารถพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ยกระดับการพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อให้การดำเนินงานของแฟลตฟอร์มนี้บรรลุวัตถุประสงค์ จึงมีการวางกรอบการทำงานขับเคลื่อนผ่านระบบโปรแกรม (Program) รวมทั้งสิ้น 6 โปรแกรม ดังนี้

📍โปรแกรมที่ 1 : สร้างระบบผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ

เป็นการสร้างปัจจัยที่เอื้อต่อการส่งเสริมการพัฒนาและการใช้ประโยชน์ศักยภาพกำลังคนระดับสูงรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพสูงให้อยู่ในระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศในระยะยาว เพื่อสามารถตอบสนองการพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (OKR: Objective and Key Result)

▶️ O1.1 พัฒนาระบบนิเวศเพื่อการพัฒนาและใช้กำลังคนคุณภาพตรงความต้องการของประเทศ
KR1.1.1 ระบบเพื่อสร้างเส้นทางอาชีพนักวิจัยและสร้างความต่อเนื่องของการวิจัย เพื่อเพิ่มจำนวนนักวิจัยและพัฒนาเป็น 25 คน ต่อประชากร 10,000 คน ภายในปี 2564
KR1.1.2 ระบบพัฒนากำลังคนร่วมระหว่างสถาบันภาคอุดมศึกษากับภาคเอกชน เพื่อพัฒนาบัณฑิตคุณภาพ/ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่มีทักษะตรงหรือใกล้เคียงกับที่ตลาดงานต้องการจำนวน 1,000,000 คน ภายในปี 2566
KR1.1.3 ระบบและกลไกดึงดูดสนับสนุนการเคลื่อนย้ายบุคลากรวิจัยและผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ
********* ตัวอย่างแผนงาน / โครงการสำคัญ : ภาพที่ 2

📍โปรแกรมที่ 2 : การพัฒนากำลังคนระดับสูงรองรับ EEC และระบบเศรษฐกิจสังคมของประเทศ

โปรแกรมนี้มีสาระสำคัญเพื่อเป็นการนำเสนอมาตรการและกลไกรองรับการพัฒนากำลังคนเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC โดยการผลิตกำลังคนเพื่อรองรับ EEC นั้น ยังหมายรวมไปถึงกลุ่มเป้าหมายกำลังคนทั้งระดับอาชีวศึกษา ปริญญาตรี โทและเอก โดยมีเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (OKR: Objective and Key Result)

▶️O1.2 มีกำลังคนระดับสูงรองรับ EEC และระบบเศรษฐกิจสังคมของประเทศ
KR1.2.1 ระบบข้อมูลและแผนความต้องการบัณฑิตในระดับประเทศ และพื้นที่ EEC
KR1.2.2 แรงงานมีทักษะระดับสูง ตรงกับความต้องการเพื่อการพัฒนา EEC โดยพัฒนาบุคลากรรองรับ อุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC ให้ได้ 470,000 คน ภายในปี 2566
********* ตัวอย่างแผนงาน / โครงการสำคัญ : ภาพที่ 3

📍โปรแกรมที่ 3 : ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต
โปรแกรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลไกและมาตรการเพื่อส่งเสริมการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิต เพิ่มพูนทักษะเพื่อรองรับอาชีพที่เปลี่ยนแปลงไปตามแนวโน้มเทคโนโลยีของโลก ผ่านการศึกษาในระบบปกติ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (OKR: Objective and Key Result)

▶️O1.3 พัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทักษะเพื่ออนาคต
KR1.3.1 บุคลากรวัยทำงานมีทักษะใหม่ สามารถปรับตัวจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจอย่างฉับพลัน (Disruption)
KR1.3.2 ระบบการเรียนรู้และเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน
KR1.3.3 เยาวชนมีทักษะแห่งอนาคตโดยเฉพาะทักษะด้านวิจัย วิศวกรรมและนวัตกรรม โดยการสร้างโรงประลองทางวิศวกรรม 10,000 แห่ง ภายใน 4 ปี (2566)
********* ตัวอย่างแผนงาน / โครงการสำคัญ : ภาพที่ 4

📍โปรแกรมที่ 4 : ส่งเสริมปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานขับเคลื่อนประเทศในอนาคต

เป็นการพัฒนากำลังคนโดยการสร้างความตระหนักด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านของระบบเศรษฐกิจและสังคม จากยุคเทคโนโลยีสารสนเทศไปสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้เกิดกำลังคนในการในตลาดแรงงานที่สามารถทำงานโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยมีเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (OKR: Objective and Key Result)

▶️O1.4 พัฒนากำลังคนที่สามารถทำงานโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และส่งเสริมการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อเป็นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
KR1.4.1 เด็กและเยาวชนมีความเข้าใจและทักษะพื้นฐานด้าน AI 200,000 คน
KR1.4.2 กำลังคนป้อนตลาดแรงงานที่สามารถทำงานโดยใช้เทคโนโลยี AI หรือสามารถพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี AI จำนวน 200,000 คน
KR1.4.3 ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเพิ่มกำลังการผลิต(Productivity) ด้วยเทคโนโลยี AI จำนวน 5,000 ราย
********* ตัวอย่างแผนงาน / โครงการสำคัญ : ภาพที่ 5

📍โปรแกรมที่ 5 : ส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้าและการวิจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพ
การส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้า (Frontier Research) มุ่งไปในทิศที่นำไปสู่ความเป็นพื้นฐานขั้นสูงที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ (Fundamental advancement beyond frontier of knowledge) โดยไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ หรืองานวิจัย อุตสาหกรรม ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยขั้นแนวหน้าอาจจำแนกตามวัตถุประสงค์ข้างต้นได้เป็น 3 ลักษณะ คือ 1) การนำไปสู่การค้นพบสิ่งใหม่ (New discovery) 2) การทำสำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก (First in class) 3) การสร้างสิ่งที่ดีที่สุดในโลก (Best in class) ซึ่งทั้งสามประเภทนี้ล้วนแต่ก้าวข้ามขอบเขตของความรู้ทั้งสิ้น โดยมีเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (OKR: Objective and Key Result)

▶️ O1.5a พัฒนาระบบนิเวศการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยขั้นแนวหน้าให้เกิดขึ้น
KR1.5a.1 กรอบการวิจัย กระบวนการให้ทุน การติดตามและประเมินผลการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยขั้นแนวหน้า
KR1.5a.2 โครงสร้างพื้นฐานการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยขั้นแนวหน้า เช่น ห้องสมุดและแหล่งค้นคว้าห้องปฏิบัติการกลาง (central facility) การจัดทำวารสารวิชาการ การประชุมวิชาการ องค์กรวิชาการเฉพาะทางและองค์กรให้ทุนที่เชี่ยวชาญในการให้ทุนวิจัยพื้นฐานและการวิจัยขั้นแนวหน้า

▶️ O1.5b พัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่จำเป็นในการสร้างโอกาสให้คนไทยเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบสนองความท้าทายในอนาคตของประเทศ
KR1.5b.1 องค์ความรู้และกระบวนทัศน์ใหม่ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สร้างความเข้าใจและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม อย่างน้อย 3 เรื่อง
KR1.5b.2 จำนวนบทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ (Top-tier Journals) อย่างน้อย 50 ฉบับ
KR1.5b.3 ผลงานวิจัยที่เป็นการค้นพบสิ่งใหม่ (New Discovery) การทำสำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก (First in Class) หรือการสร้างสิ่งที่ดีที่สุดในโลก (Best in Class) อย่างน้อย 3 เรื่อง
KR1.5b.4 เครือข่ายนักวิจัยไทยมีส่วนร่วมใน global research value chain เกิดโครงการวิจัยร่วมกับกลุ่มวิจัยสำคัญของโลกหรือได้รับทุนวิจัยจากหน่วยงานให้ทุนสำคัญของโลก อย่างน้อย 10โครงการ
KR1.5b.5 การเกิดขึ้นของธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้น (Deep-tech) การพัฒนาเทคนิคทางด้าน วิศวกรรมหรือต้นแบบ (Prototype) ที่เกิดจากงานวิจัยขั้นแนวหน้า อย่างน้อย 10 บริษัท

********* ตัวอย่างแผนงาน / โครงการสำคัญ : ภาพที่ 6

📍โปรแกรมที่ 6 : พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการวิจัยที่สำคัญ

การสนับสนุนการลงทุนสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการวิจัยในสเกลใหญ่ (Big Science) ที่สามารถ รองรับทั้งการวิจัยขั้นสูงรวมไปถึงโจทย์ความท้าทายในระดับโลก จึงมีความสำคัญ เพื่อมุ่งสร้างความเป็นเลิศ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และสร้างความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ โดยต้องอาศัยการออกแบบบริหารจัดการและการบริการที่ดี มีการขับเคลื่อนโครงการที่เหมาะสมผ่าน คณะทำงานที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีการวางแผนการสื่อสารโดยคำนึงถึงผู้ใช้บริการเป็นสำคัญและติดตามพัฒนาการอย่างเท่าทัน อีกทั้งต้องมีการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป โดยมีเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (OKR: Objective and Key Result)

▶️ O1.6 โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการวิจัยในสเกลใหญ่ที่จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์และความมั่นคงของประเทศ
KR1.6.1 จำนวนบทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ (Top-tier Journals) อย่างน้อย 20 ฉบับ
KR1.6.2 จำนวนผลงานวิจัยและเทคโนโลยีพร้อมใช้ที่ถูกนำไปใช้สร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ อย่างน้อย 10 เรื่อง
KR1.6.3 มูลค่าการลงทุนของบริษัทที่มาใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเป็น 2 เท่า ภายใน 5 ปี
KR1.6.4 เกิดเทคโนโลยีต้นแบบและขีดความสามารถในการประยุกต์ใช้โครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งความสามารถในการบำรุงรักษาระบบ อย่างน้อย 5 ต้นแบบ
********* ตัวอย่างแผนงาน / โครงการสำคัญ : ภาพที่ 7

ที่มา : (ร่าง)นโยบายแผนและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563-2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563-2565

….. Platform 2 Coming soon 💭🙏😊

#สกสว
#สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#TSRI
#ThailandScienceResearchandInnovation









[ad_2]

Source

Loading

Scroll to Top