หน่วยอบรม ประชาชน ประจำตำบล
อ.ป.ต. นะ อย่าสับสน
“ป.ปลา” ไม่ใช่ “บ.ใบไม”้
(เพลง อ.ป.ต. ขอใจ ศิลปิน ครูสลา คุณวุฒิ ผู้แต่ง ช่อฟ้า ใบเตย)
คําว่า อ.ป.ต. หรือชื่อเต็มว่า หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล อาจเป็นคําที่หลายท่านไม่ค่อยคุ้นหู เท่าใดนัก
แตกต่างจากคําว่า อบต. หรือ องค์การบริหารส่วนตําบล ที่มักจะติดหูเพราะได้รับการกล่าวถึงจาก ช่องทางต่าง ๆ มากกว่า
อย่างไรก็ตาม หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) ไม่ใช่คําใหม่ หากแต่เป็นคําที่เกิดขึ้นมาอย่าง ยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518
ในขณะที่ องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ตามพระราชบัญญัติสภา ตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 (โกวิทย์ พวงงาม, 2543: 170)
นั่นแสดงให้เห็นว่า หากเปรียบเทียบการเกิดขึ้นระหว่างคําว่า อ.ป.ต. กับ อบต. แล้ว
อ.ป.ต. จึงเป็นคําที่เกิดขึ้นมาก่อน อบต. อย่างน้อยก็เป็นเวลาเกือบ 19 ปี
คําถามคือเหตุใด หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล กลับเป็นคําที่ได้รับการรับรู้จากสังคมน้อยมาก
บทความนี้จะนําพาทุกท่านทําความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลให้มากขึ้น ทั้งในเรื่องของหลักการและแนวคิด
รวมทั้งความพยายามของคณะสงฆ์และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการที่จะช่วยกันรื้อฟื้นความสําคัญของ อ.ป.ต. ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่นําไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) กับพันธกิจ 8 ด้าน
แนวคิดพื้นฐานของ อ.ป.ต. คือ
การส่งเสริมและสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
ตามหลักการของพระพุทธศาสนา
(จรถ ภิกฺขเว จาริกํ….)
หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) เป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้น จากความริเริ่มของคณะสงฆ์
โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง
ให้การก่อตั้ง มี วัตถุประสงค์ที่สําคัญดังนี้
❖ สงเคราะห์ประชาชนภายในตําบลนั้น ๆ เพื่อให้ช่วยเหลือ-พึ่งพา ตนเองได้
❖ เป็นการทํางานแบบบูรณาการระหว่าง วัด บ้าน รัฐ โรงเรียน (บวร) เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ดี มีความสามารถ มีพฤติกรรมดี และ นําไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน
❖เป็นศูนย์การทํางานด้านสาธารณสงเคราะห์และการเรียนรู้ของตําบลนั้น ๆ
❖ พิทักษ์คุ้มครองประชาชนในตําบลนั้น ให้อยู่เป็นปกติสุข ด้วยความรักความเข้าใจกัน
❖ สนับสนุนนโยบายคณะสงฆ์ นโยบายรัฐเพื่อสร้างความอยู่ดี กินดี มีสุขของประชาชน
❖ สนับสนุนอาชีพสุจริต การทํางานที่ถูกต้องเป็นธรรม
บทบาทพระสงฆ์กับการทำงานสุขภาวะอย่างยั่งยืน
และเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยง่าย หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลจึงได้สรุปเป็นพันธกิจไว้ทั้งสิ้น 8 ดา้ น เพื่อให้สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม
❖ ศีลธรรมและวัฒนธรรม
❖ สุขภาพอนามัย
❖ สัมมาชีพ
❖ สันติสุข
❖ ศึกษาสงเคราะห์
❖ สาธารณสงเคราะห์
❖ กตัญญูกตเวทิตาธรรม (สนองคุณ)
❖ สามัคคี
พระเทพปวรเมธี, รศ.ดร. ประธานคณะกรรมการประสานงาน แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการ พระพุทธศาสนา (คปพ.) เป็นพระสังฆาธิการที่มีบทบาทในการปฏิรูปกิจการคณะสงฆ์ และเป็นหนึ่งในพระ วิทยากรที่มีส่วนสําคัญในการรื้อฟื้นงานของ อ.ป.ต.
ท่านได้ช่วยสรุปให้พันธกิจทั้ง 8 ด้านดังกล่าว ให้สามารถจดจําได้ง่ายขึ้น โดยเรียกพันธกิจดังกล่าวไว้ ว่า “พันธกิจ 8 ส.” เป็นการเปลี่ยนจากคําว่า กตัญญูกตเวทิตาธรรม ไปเป็น สนองคุณ
ทั้งนี้ หากมองอย่างผิวเผิน พันธกิจทั้ง 8 ด้าน เป็นงานที่คณะสงฆ์ทําอยู่เป็นปรกติ หากแต่ที่ผ่านมา คณะสงฆ์หรือพระสงฆ์ที่เป็นผู้ปฏิบัติการ ไม่ได้มีการสรุปหรือรายงานอย่างเป็นรูปธรรม
สิ่งนี้จึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อน โครงการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธ ของหน่วยอบรมประชาชน ประจําตําบล (อ.ป.ต.) ในสังคมไทย โดยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนจาก สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อรื้อฟื้นความสําคัญและ สร้างกระบวนการพัฒนาศักยภาพให้กับหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) ทั่วประเทศไทย
การพัฒนาศักยภาพให้กับหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.)
ในปัจจุบัน หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) มีอยู่ทั้งสิ้น 5,992 หน่วย ตั้งอยู่กระจายทั่ว ประเทศในทุกภูมิภาค
หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) เหล่านี้ ล้วนมีบทบาท หน้าที่ ในการทํางานร่วมกับชุมชน มาอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างที่กล่าวในเบื้องต้นไว้ว่า อ.ป.ต. ส่วนใหญ่ยังขาดวิธีการในสื่อสารและการจัดทํา ข้อสรุปเกี่ยวกับงานที่ตนเองได้ทําร่วมกับชุมชน จะมีข้อยกเว้นบ้างในบางหน่วยที่สามารถแสดงผลงานที่เป็น รูปธรรมสู่สังคมได้อย่างเช่นเจน อาทิ
หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลหัวง้ม โดยพระครูสุจิณกัลป์ยาณธรรม ที่ขับเคลื่อนกิจกรรม “ธนาคารความดี” แปรสภาพความดีที่เป็นนามธรรมให้กลายเป็นรูปธรรม สร้างแรงจูงใจให้คนในชุมชนร่วมกัน ทําความดีเพื่อส่วนรวม
หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลโหล่งขอด โดยพระครูวรวรรณวิวัฒน์ ที่ส่งเสริมอาชีพให้กับ ชาวบ้านในชุมชน การสร้างศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประจําตําบล จัดตั้งคณะกรรมการในการดูแลป่าจํานวน หลายแสนไร่ และก่อตั้งธนาคารชุมชนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการออม เรียกว่าทํางานครบถ้วนในเกือบทุกมิติ
หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลวัดดงตะขบ โดยพระครูปริยัติวโรภาส ที่ฝึกทักษะให้กับชาวบ้าน ในเรื่องของงานจักรสานไม้ไผ่ ใช้ไม้ไผ่ในการทําอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นศาลาไม้ไผ่ เก้าอี้ไม่ไผ่ ฯลฯ สามารถ ส่งขายให้กับกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจ สร้างเป็นรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชน
โครงการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธ ของหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) ใน สังคมไทย จึงได้ตั้งโจทย์การวิจัยไว้ว่า จะทําอย่างไรให้หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลที่มีอยู่ทั่วประเทศ สามารถฉายภาพการทํางาน ได้รับการพัฒนาศักยภาพ และสามารถตอบสนองต่อสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง ภายใต้ทุนที่มีอยู่ในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม
นําไปสู่การจัดอบรม “การพัฒนาศักยภาพให้กับพระสงฆ์ประจําหน่วยอบรมประชาชนประจํา ตําบล” ในพื้นที่ภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย (แต่ละเวทีจะแบ่งเป็นภาคการปกครองของคณะสงฆ์ อาทิ ภาค 4 ได้แก่จังหวัด นครสวรรค์ กําแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์) โดยที่ผ่านมา ทางโครงการได้จัดการอบรมไปแล้ว ทั้งสิ้น 9 เวทีด้วยกัน ได้แก่
1) เวทีภาคที่ 2-3 จัดขึ้นที่ วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2) เวทีภาคที่ 4-5 จัดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร
3) เวทีภาคที่ 6-7 จัดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลําพูน
4) เวทีภาคที่ 8-9 จัดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
5) เวทีภาคที่ 10-11 จัดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
6) เวทีภาคที่ 12-13 จัดขึ้นที่ วัดใหม่กรงทอง จังหวัดปราจีนบุรี
7) เวทีภาคที่ 14-15 จัดขึ้นที่ วัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม
8) เวทีภาคที่ 16-17 จัดขึ้นที่ วัดพัฒนาราม พระอารามหลวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
9) เวทีภาคที่ 18 จัดขึ้นที่ วัดนาทวี จังหวัดสงขลา
และจะจัดเวทีที่ 1 เป็นเวทีสุดท้าย ในระหว่างช่วงเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ ซึ่งในแต่ละเวทีได้รับเมตตาจากพระนักวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ ในการบรรยายถวายความรู้ให้กับพระสังฆาธิการที่เข้ารับ การอบรม อาทิ
พระเทพปวรเมธี, รศ.ดร. บรรยายในหัวข้อ การพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ของหน่วยอบรมประชาชน ประจําตําบล ที่มุ่งสร้างความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่ส่งผลให้บทบาทขององค์การทาง พระพุทธศาสนาต้องปรบเปลี่ยน หลักการทํางานเชิงบูรณาการที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันไม่มีหน่วยงานใดที่สามารถทํางานได้โดยลําพัง การยึดโยงการทํางานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ในระดับใหญ่ ระดับกลาง และระดับเล็ก และทิ้งทวนในประเด็นสุดท้ายที่ว่า จะทําอย่างไรให้วัดของตนเอง ได้รับการพัฒนา และสามารถตอบสนองต่อชุมชนได้อย่างเหมาะสม
พระเทพเวที, รศ.ดร. บรรยายในหัวข้อ การพัฒนากิจกรรมและโครงการพัฒนาของหน่วยอบรม ประชาชนประจําตําบล เป็นการพัฒนาศักยภาพให้กับพระสงฆ์เกี่ยวกับกระบวนการเขียนโครงการ การ แสวงหาประเด็นปัญหา การวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ในพื้นที่ พร้อมทั้งการวิเคราะห์ถึงแนวทางในการแก้ไข ปัญหา และความคาดหวังที่มีต่อพื้นที่ของตนเองในอนาคต
พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. บรรยายในหัวข้อ การพัฒนางานหน่วย อ.ป.ต. ในยุคไทยแลนด์ 4.0 เป็น การบรรยายเพื่อมุ่งหวังให้พระสงฆ์ที่เข้าร่วมการอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับที่มาที่ไปของหน่วย อบรมประชาชนประจําตําบล แนวคิดพื้นฐาน รูปแบบการพัฒนากิจกรรมเพื่อให้สอดรับกับยุคไทยแลนด์ 4.0 เป็นการจุดประกายให้พระสงฆ์ที่เป็นประธานหน่วย เกิดแรงจูงใจที่อยากจะพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งยังเป็นการท้าทายให้เกิดการคิดค้นกิจกรรมในรูปแบบของโครงการใหม่ ๆ ให้ แนวทางในการแสวงหาเครือข่ายจากภายนอกที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสนับสนุนงานในครั้งนี้
นอกจากพระนักวิทยากรที่กล่าวมาในเบื้องต้นแล้ว ทางโครงการยังได้รับเมตตาจากพระสังฆาธิการที่ เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะภาคต่าง ๆ ที่ได้มาเป็นประธานเปิดการอบรม ซ้ํายังประทานโอวาทที่เกี่ยวข้องกับตัว นโยบายของกิจการคณะสงฆ์ ความคาดหวังที่มีเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ต่อสังคม แสดงให้เห็นถึงความเห็น ดีเห็นงามของคณะสงฆ์เอง ที่มีความประสงค์ไม่ต่างกันเกี่ยวกับแนวทางในการรื้อฟื้นความสําคัญของหน่วย อบรมประชาชนประจําตําบลในสังคมไทย
เนื้อหาการอบรมนอกจากจะเป็นการบรรยายถวายความรู้แล้ว ยังมีในส่วนของการลงพื้นที่เพื่อศึกษาดู งาน โดยในแต่ละเวที ทางโครงการจะคัดเลือกพื้นที่หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลต้นแบบ ที่มีผลงานเชิง รูปธรรม เพื่อให้พระสงฆ์ที่เข้าร่วมอบรมได้เห็นถึงแนวคิด วิธีการ และผลลัพธ์ในการพัฒนาหน่วยอบรม ประชาชนประจําตําบลให้ประสบความสําเร็จ
เรื่องเล่าจากพื้นที่หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) ต้นแบบ
สานไม้ไผ่ สานสัมพันธ์ สานสัมมา(อา)ชีพ
แนวทางการพัฒนาอาชีพของหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) มีอยู่หลากหลายวิธี โดยถือ เป็นหนึ่งในพันธะกิจหลัก 8 ประการ ของ อ.ป.ต. ก็คือ ในเรื่องของ สัมมาชีพ หลายพื้นที่มีการใช้ทุนที่มีอยู่ให้ เกิดประโยชน์กับคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นทุนทางทรัพยากร ทุนทางองค์ความรู้-ทักษะ ทุนทางสังคม เป็นต้น ผลลัพธ์ดังกล่าวสะท้อนผ่านสิ่งของเครื่องใช้ ไม่ว่าจะเป็นผ้ามัดย้อม ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่เป็นอาหารหรือของใช้ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กบัผลิตภัณฑ์และเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี
ศูนย์การเรียนรู้วัดดงตะขบ ตําบลดงตะขบ อําเภอดงตะขบ จังหวัดพิจิตร ถือเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในชุมชนได้อย่างคุ้มค่า แต่เดิมนั้น พื้นที่มีปริมาณของต้นไผ่จํานวนมาก อีกทั้งชาวบ้านใน พื้นที่ก็มีทักษะการสานไม้ไผ่ติดไม่ติดมือมาตั้งแต่อดีต ผ่านการส่งต่อและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ผลิตภัณฑ์ที่ทํา จากไม้ไผ่ดังกล่าวยังเป็นไปเพื่อการใช้สอยภายในครัวเรือน ไม่ได้มีไว้เพื่อการค้าขายในเชิงธุรกิจแต่อย่างใด
พระครูปริยัติวโรภาส เจ้าอาวาสวัดดงตะขบ จึงได้เห็นแนวทางที่จะใช้ไม้ไผ่ในการสร้างอาชีพให้กับ ชุมชน จึงได้เปิดพื้นที่วัดให้กลายเป็นที่ฝึกอบรมทักษะการสานไม้ไผ่ และเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้เข้ามาใช้พื้นที่ วัดในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มาจากไม้ไผ่ ในแต่ละวันจะมีชาวบ้านผู้สูงอายุที่ว่างจากการทําไร่-นา เข้ามาช่วยกัน สร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และนําออกขายไปยังพื้นที่ใกล้เคียง สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน อีกทั้งยัง สามารถสงเคราะห์รายได้ส่วนหนึ่งให้กับวัดเพื่อใช้ในการบํารุงพระพุทธศาสนาได้อีกด้วย
หลวงพ่อเจ้าอาวาสได้เล่าให้ฟังว่า “การสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านนั้นเป็นเป้าหมายอันดับแรก แต่ นอกจากชาวบ้านจะเกิดรายได้ วัดเองก็ได้รับการทํานุบํารุงจากชาวบ้านที่เข้ามาใช้ประโยชน์ภายในวัด ตอนนี้วัด เปรียบเสมือนเป็นพื้นที่ให้ผู้สูงอายุเข้ามาแลกเปลี่ยน พูดคุย ปรึกษาหารือ เกิดเป็นการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง กลุ่มคน เหล่านี้เวลาที่วัดหรือชุมชนมีงานอะไร ก็จะร่วมไม้ร่วมมือกันเป็นอย่างดี”
สิ่งที่หลวงพ่อได้เล่าให้ฟังในเบื้องต้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หากแต่เกิดจากความตั้งใจ การ วางแผนที่เป็นขั้นเป็นตอน ดังสะท้อนให้เห็นผ่านรูปแบบของคณะกรรมการวัดที่มีโครงสร้างหน้าที่ชัดเจน คนไหน รับผิดชอบเรื่องอะไร ช่วงไหนจะมีงานใดเกิดขึ้นบ้าง อีกทั้งยังมีรูปแบบการรายงานผลกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม สามารถมองเห็นและจับต้องได้ การศึกษาดูงานในพื้นที่แห่งนี้จึงเป็นประโยชน์ในแง่ของวิธีการในการพัฒนาวัด ที่ จะต้องมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มหรือเครือข่าย มีการแบ่งหน้าที่ สร้างกฎเกณฑ์ และจําเป็นที่จะต้องรายงานผลการ ดําเนินงานให้เป็นที่ประจักษ์ชัด ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญที่พระสงฆ์จําเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพในเรื่องนี้
การใช้ที่นาในการสร้างความสมานฉันท์ปรองดอง
เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นปัญหาความรุนแรงที่อยู่คู่กับพื้นที่มาเป็น เวลานาน มีความซับซ้อน และละเอียดอ่อน การแก้ไขปัญหาจึงเป็นไปด้วยความยากลําบาก ต้องอาศัยความรัก และความเข้าใจในการแก้ไขปัญหา
ศูนย์การเรียนรู้หลวงพ่อภัตร ตําบลนาหมอศรี อําเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ ปัญหาความรุนแรงดังกล่าว โดยหลวงพ่อพระครูสุวัฒนาภรณ์ หรือที่รู้จักกันในชื่อหลวงพ่อภัตร อริโย มี ความคิดริเริ่มที่อยากจะทําให้สถานการณ์ความรุนแรงดังกล่าวได้รับการบรรเทาและเยียวยารักษา หลวงพ่อ ภัตรเล่าให้ฟังว่า “หลังจากที่ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ถือกําเนิดขึ้น ก็ไม่มีเสียงระเบิดหรือเสียงปืนในพื้นที่อีกเลย”
“อําเภอนาทวี ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีจํานวนมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากร ทั้งหมด การใช้ศาสนาเพื่อสานสัมพันธ์ให้เกิดมิตรไมตรีนั้น จึงไม่สามารถใช้คําว่าพุทธศาสนาได้ จะใช้ได้ก็แต่ เพียงคําว่า “ศาสนา” แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ได้ขัดกับจุดมุ่งหมาย เพราะทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีแทบ ทั้งสิ้น กิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าวประสบความสําเร็จได้ด้วยดีก็เพราะว่า ทุกกิจกรรมวางอยู่บน พื้นฐานของความเป็นมนุษย์ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข พุทธ คริสต์ อิสลาม สามารถอยู่ร่วมกันได้ ภายใต้การ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน”
“โครงการพลิกนาร้าง สร้างนารักษ์” เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ของความรัก ความเข้าใจ และการให้ เกียรติซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี พื้นที่นาจํานวนหลายร้อยไร่ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านแหลกลาง ถูกเนรมิตพลิก ฟื้นด้วยแรงกาย แรงใจ จนแปรสภาพจากที่นาทิ้งร้างให้การเป็นที่นาที่อุดมสมบูรณ์ ภายใต้ความร่วมแรงร่วมใจ ของชาวบ้านจํานวนหลายร้อยคน ภาคส่วนราชการ เอกชน และภาคประชาสังคม การใช้พื้นที่นาเป็นสื่อกลาง ในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ถือเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่ชาญฉลาดเป็นอย่างยิ่ง ผ่านการใช้ศาสนา เป็นเครื่องมือในการหนุนเสริมเพื่อการพัฒนาจิตใจให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การศึกษาดูงานในพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ เปรียบเสมือนเป็นการให้แนวคิด ปลุกอุดมการณ์ เพื่อให้ พระสงฆ์ที่เป็นประธานหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลสามารถนําสิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงานไปปรับ ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ของตนเองได้ เพื่อเป็นการสนองงานกิจการคณะสงฆ์ และตอบสนองกับ ภาระงานทั้ง 8 ด้านของหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล สร้างสรรค์สังคมไทยให้มีความสงบสุขต่อไป
ท้ายที่สุด การพัฒนาศักยภาพของหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) ยังจําเป็นที่จะต้อง ได้รับการพัฒนา รื้อฟื้นความสําคัญ และส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าที่เคยเป็น เนื่องจาก อ.ป.ต. ถือเป็นหน่วยงานทางพระพุทธศาสนาที่เปรียบเสมือนเป็นหน้าด่านและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชุมชน มากที่สุด หาก อ.ป.ต. สามารถเป็นศูนย์กลางในการเป็นที่พึ่งให้กับชุมชนได้แล้ว ชุมชนและสังคมก็จะเกิด ความสุข ความยั่งยืน สามารถตอบสนองประชาชนในมิติทางจิตใจที่ในปัจจุบันไม่มีหน่วยงานใดให้การตอบนอง ได้ สามารถส่งเสริมให้ชุมชนอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน และนําไปสู่การส่งต่อความเป็นมนุษย์ซึ่งกัน และกันได้อย่างสันติสืบไป
ที่มา : https://www.buddhistfordev.com/event97