Search
Close this search box.

การบรรยายหัวข้อ BCG : การขับเคลื่อนและการพัฒนานวัตกรรมสังคมวิถีใหม่ ในงานกิจกรรม 100 ปี แห่งการสถาปนา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ โดยพระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์

BCG : การขับเคลื่อนและการพัฒนานวัตกรรมสังคมวิถีใหม่ ?
การให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาและการ สร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมโดยผ่านมุมมอง “BCG Model” เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการขับเคลื่อน BCG Model กับการพัฒนาสังคมไทยไปสู่ความก้าวหน้าเช่นเดียวกับประเทศที่มีรายได้สูง ซึ่งเป็นการมองผ่าน กระบวนการพัฒนาในระดับโลกและของประเทศไทย โดยบทความมีเนื้อหาครอบคลุม ดังนี้
1) การเปลี่ยนผ่านโลก 3 ยุค/คลื่น (ความท้าทายของการพัฒนาของยุคสมัย
2) การพัฒนาในยุค Modernization และเข้าสู่ทศวรรษแห่งการพัฒนาของ UN
3)การพัฒนานวัตกรรมและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ของประเทศต้นแบบในเอเชีย (ญี่ปุ่น เกาหลี จีน)
4) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
5) BCG Model : นวัตกรรมการพัฒนา ?
โดย BCG จะตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของ สหประชาชาติอย่างน้อย 5 เป้าหมาย ได้แก่ การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลาย ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อีกทั้งยังสอดรับปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรม (วทน.) จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม

Loading

Scroll to Top