1

ตำบล

มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

“1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” พัฒนาท้องถิ่นแบบยั่งยืน แก้ไขปัญหาความยากจนแบบตรงจุด ขณะนี้ กระทรวง อว.กำลังจัดเตรียมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือ โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อเสนอขอใช้งบประมาณ จากพ.ร.ก เงินกู้ ฯ (การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 วงเงินไม่เกิน 4 แสนล้านบาท ) โดยดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ 3,000 ตำบลทั่วประเทศ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชนหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 ระยะเวลา 1 ปี ทั้งการสร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อให้เกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษาไม่น้อยกว่า 60,000 คน ทั้งให้เกิดการพัฒนาทักษะในการเสริมสร้างอาชีพใหม่ในชุมชนรวมทั้งให้เกิดการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนและให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นด้าน BCG Economy ผ่าน โครงการด้านการเกษตรอัจฉริยะ พัฒนายกระดับพืชสมุนไพร พลังงานชุมชน การท่องเที่ยวชุมชน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน โอทอป(OTOP) รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน และเอสเอ็มอี (SMEs) ในพื้นที่ ซึ่งโครงการต่างๆ เหล่านี้ จะได้รับการบูรณาการอย่างเป็นระบบตามศักยภาพของตำบลและเพิ่มประสิทธิภาพให้ตำบลด้วยทักษะความรู้และนวัตกรรมเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนและแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จึงเกิดขึ้นเพื่อให้เกิดการบูรณาการโครงการในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามความต้องการของพื้นที่อย่างแท้จริง โดยใช้มหาวิทยาลัยของรัฐกว่า 80 แห่งที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆของประเทศ ทำหน้าที่เป็น หน่วยงานบูรณาการโครงการ ในระดับตำบล

ทั้งนี้ การดำเนินการของมหาวิทยาลัยในพื้นที่จะทำหน้าที่หน่วยงานบูรณาการโครงการ รายตำบล ดูแลยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน อาทิ การพัฒนาสินค้าและบริการชุมชน การพัฒนาการตลาดและสิ่งอำนวยความสะดวก การส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานชุมชน การส่งเสริมให้เกิดการฟื้นฟูและพัฒนาท้องถิ่นตนเอง การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน dewata88 เป็นต้น

ที่สำคัญ มหาวิทยาลัยจะเป็นหน่วยจ้างงานในตำบลที่ทำหน้าที่ดูแล โดยจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา ไม่น้อยกว่า 20 คนในแต่ละตำบลรวมทั้งทำหน้าที่ประสานงานและทำงานร่วมกับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนรายตำบล (Community Big Data) เพื่อให้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน

นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินการบูรณาการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะมีการจัดทำระบบการบูรณาการโครงการต่างๆในอีก 2 ระดับ คือ ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 9 ภูมิภาคของ อว. จะทำหน้าที่ในการบูรณาการโครงการต่างๆระหว่างชุมชนหรือตำบลในพื้นที่ ทั้งด้านการใช้ทรัพยากรโครงการร่วมกัน การแบ่งปันองค์ความรู้และเทคโนโลยีร่วมกัน รวมถึงการเชื่อมต่อกันในโซ่คุณค่าของสินค้าและบริการ เช่นการผลิตวัตถุดิบ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การบริโภคสินค้าและบริการ การท่องเที่ยวที่เชื่อมต่อกันระหว่างพื้นที่ เป็นต้น และในระดับประเทศ อว.จะร่วมกับ สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่บูรณาการโครงการและข้อมูลต่างๆในภาพรวม การประเมินผลกระทบ และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน เพื่อใช้ในการจัดทำนโยบายและกลยุทธ์ในการลดปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจนครับ

แหล่งที่มาข้อมูล https://www.facebook.com/pg/drsuvitpage/posts/?ref=page_internal

Scroll to Top
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.