มจร. นำเทคโนโลยีการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารพิษจากโครงการวิจัยใช้จริง

ปัญหามลพิษนั้นดูจะคลืบคลานเข้ามาใกล้ชีวิตมนุษย์เราทุกที เหมือนความตายหยั่งไงก็อย่างนั้น …

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 จากรายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศโลกปี พ.ศ. 2561 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)ในปี 2561 ที่กระจายตัวอย่างกว้างขวาง แต่ไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่ กอร์ปกับประชาชนยังถูกจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล ในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 23 ของโลก ในฐานะประเทศที่มีความเข้มข้นเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 มากที่สุด หากเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยมีค่าคุณภาพอากาศที่แย่เป็นอันดับ 3 รองจากอินโดนีเซียและเวียดนาม มี 10 จังหวัดในไทยที่ติดอยู่ในการจัดอันดับ 15 เมืองที่มีมลพิษ PM2.5 สูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษสูงสุดในโลกนี้ จัดทำขึ้นโดย IQAir AirVisual ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่า 9 ใน 10 คนทั่วโลกกําลังหายใจเอามลพิษทางอากาศเข้าสู่ร่างกาย เราทุกคนที่อาศัยอยู่ในเมืองมลพิษล้วนเสี่ยงที่จะเป็นหนึ่งใน 9 คนนั้น ประเทศที่มีมลพิษทางอากาศเป็นอันดับหนึ่ง คือ บังคลาเทศ ขณะที่หากนับเป็นเมืองแล้ว เมืองเดลี ประเทศอินเดียอยู่อันดับหนึ่ง และกรุงเทพฯอยู่อันดับที่ 24

รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศโลก พ.ศ.2561

จากปัญหาดังกล่าว จึงเกิดการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ศึกษาและค้นคว้าในโครงการวิจัย เรื่อง “เทคโนโลยีการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารพิษไดออกซินจากการเผาศพ” โดยใช้ “สารไกอา เอช” หรือ “สารวิมุตติ” มาทดลองใช้ในการเผาศพ ที่ดำเนินการมาตั้งแต่เดือน เมษายน – ตุลาคม 2559 เพราะการฌาปนกิจ หรือ การเผาศพแต่ละครั้ง นอกจากร่างศพ ยังมีโลงศพ เสื้อผ้า ข้าวของหลายชิ้นที่ญาติใส่ลงไปในโลงตามความเชื่อของพิธีกรรมทางศาสนา ประกอบกับการเผาศพแต่ละครั้งมีเกณฑ์กำหนดให้ใช้ความร้อน 900 ถึง 1,000 องศาเซลเซียส จึงทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ขึ้น ส่งผลให้เกิดสารมลพิษหลายชนิดปะปนออกมาพร้อมกับควัน โดยเฉพาะสารที่เป็นอันตรายมากที่สุด คือสารไดออกซิน และสารฟิวแรน ซึ่งเป็นสารก่อโรคมะเร็ง มีผลกระทบต่อระบบประสาท ภูมิคุ้มกันและระบบสืบพันธุ์ โดยผลวิจัยยังพบอีกว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเผาศพที่ปล่อยสารไดออกซินในระยะรัศมี 5 กิโลเมตร คือ พระภิกษุ สามเณร สัปเหร่อ ประชาชน และโรงเรียนที่อยู่รอบบริเวณวัด

[envira-gallery id=”5456″]

วัดสุทธิวราราม นำร่องนำสารไกอา เอช มาใช้เป็นแห่งแรกโดยอัดแท่งเย็บติดกับผ้าห่ม บางส่วนบรรจุในดอกไม้จันทน์ และบรรจุในพวงหรีด ผลลัพธ์ที่ได้จะช่วยและดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่การใช้สารไกอา เอชในการเผาศพต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของญาติผู้เสียชีวิต เพราะสารชนิดนี้ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่นักวิจัยอยู่ระหว่างคิดค้น หาสารที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันมาใช้ทดแทนได้

ในปัจจุบันความสนใจในเรื่องมลพิษทางอากาศ กับการพัฒนาเมืองนั้นเป็นเรื่องใหญ่ หลายประเทศอย่างจีน และอินเดีย พยายามจะแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้มากขึ้น เพราะเริ่มตระหนักแล้วว่าการพัฒนาเมือง หรือการปล่อยให้เกิดการะพัฒนาเมืองอย่างไร้มาตรฐาน และการวางแผนป้องกันปัญหา จะทำให้เกิดทั้งปัญหาสุขภาพกับประชาชนในเมือง และทำให้เกิดต้นทุนมหาศลในการพัฒนา

 

ที่มา Green Report : เผาศพ ลดควันพิษปะปนในอากาศ

Loading

Scroll to Top