สมัยล้านนาตอนปลาย

หลัง จากรัชกาลพระเมืองแก้วแล้ว ถือได้ว่าสังคมล้านนาได้ถึงจุดอิ่มตัวทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ส่งผลให้งานสถาปัตยกรรมในช่วงเวลานี้เป็นการสืบทอดรูปแบบเดิมจากงาน สถาปัตยกรรมในยุคทอง ปลายช่วงเวลานี้สภาพสังคมในล้านนาได้เริ่มเข้าสู่ความวุ่นวายเนื่องจากผล กระทบด้านความสัมพันธ์ระหว่างล้านนากับพม่า

อย่างไรก็ตามผลกระทบทางสังคมนี้ คงไม่มีปัจจัยต่อการสร้างงานสถาปัตยกรรมมากนัก

ดังตัวอย่างสำคัญที่ เจดีย์วัดโลกโมฬี ที่เชื่อว่าสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิพระนางจิรประภาเทวี ใน พ.ศ. 2071
รูปแบบเป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอด ยังให้วามสำคัญกับสวนยอดที่เป็นหลังคาเอนลาด อันเป็นรูปแบบสำคัญที่ช่วยชี้ให้เห็นว่าน่าจะสืบทอดจากเจดีย์ทรงปราสาทในยุค ทองเฉกเช่นเจดีย์หลวง เป็นต้น

ในช่วงนี้ยังปรากฏงานช่างที่เป็นงานบูรณะปฏิสังขรเพิ่มเติม ดังตัวย่างกลุ่มเจดีย์ในเขตพื้นที่เมืองโบราณ
ดังเช่นเวียงกุมกาม อาทิเจดีย์วัดปู่เปี้ย เจดีย์วัดอี่ก้าง เป็นต้น และเวียงท่ากาน อาทิเจดีย์วัดต้นกอก เจดีย์วัดกลางเวียง เป็นต้น

สถาปัตยกรรมในช่วงนี้มีทั้งรูปแบบที่ย้อนกลับไปเลียนแบบเจดีย์ในช่วงยุคก่อน ๆ และมีรูปแบบที่แสดงฝีมืองานช่างที่เริ่มเสื่อมลง

แหล่งอ้างอิง :
สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ , เที่ยววัดเที่ยววา ชมปูนปั้นล้านนา ( กรุงเทพฯ : สายธาร, 2544 )
วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง,สถาปัตยกรรมในเมืองเชียงใหม่ ( เชียงใหม่ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2545 )
วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง,สถาปัตยกรรมลำพูน ( เชียงใหม่ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2545 )
สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญไชย – ล้านนา ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,2538 )
เสนอ นิลเดช,ศิลปสถาปัตยกรรมล้านนา ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,2538 )
วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์,วิหารล้านนา ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,2544 )
จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา, พระเจดีย์เมืองเชียงใหม่ ( กรุงเทพฯ : วรรณรักษ์,2539 )
จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา, พระเจดีย์เมืองเชียงแสน ( กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ ,2539 )
พิริยะ ไกรฤกษ์,ประวัติศาสตร์ศิลปะไทยฉบับคู่มือนักศึกษา ( กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิง)