สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงปัจจุบัน

ใน ช่วงเวลานี้ล้านนาได้ถูกปรับเปลี่ยนจากหัวเมืองประเทศราช มณฑลต่าง ๆ ปรับเปลี่ยนเป็นการปกครองในรูปแบบจังหวัดผูกพันอยู่กับการสร้างความเป็นสยาม หรือการสร้างประเทศ งานสถาปัตยกรรมจึงผสานอิทธิพลทั้งจากตะวันตก ที่แสดงความมั่นคงแข็งแรงจากวัสดุการก่ออิฐถือปูน รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่รับอิทธิพลจากงานสถาปัตยกรรมในยุคปลายรัตน โกสินทร์

ในยุคนี้มีการปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมเนื่องในศาสนาที่สำคัญคือ สถาปัตยกรรมในกระบวนการที่สร้างและบูรณะโดยครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นงานปรับ เปลี่ยนรูปแบบอุโบสถ วิหาร เจดีย์ ให้เป็นแบบสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ ดังตัวอย่างเช่น วิหารหลวงวัดพระสิงห์ เชียงใหม่, วิหารหลวง วัดศรีโคมคำ( วิหารพระเจ้าตนหลวง ) เมืองพะเยา , วิหารหลวง วัดพระธาตุหริภุญไชย เมืองลำพูน เป็นต้น

สถาปัตยกรรมในกระบวนการที่สร้างและบูรณะโดยครูบาเจ้าศรีวิชัย ส่งอิทธิพลให้กับการสร้างและออกแบบคารต่าง ๆ ในสมัยต่อมาด้วย เมื่อก้าวเข้าสู่พุทธศตวรรษนี้งานสถาปัตยกรรมจึงปรับเปลี่ยนไปเป็นแบบรัตน โกสินทร์มากขึ้น และยิ่งสดงความหลากหลายทั้งทางด้านรูปแบบ วัสดุ และงานประดับ

แหล่งอ้างอิง :
สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ , เที่ยววัดเที่ยววา ชมปูนปั้นล้านนา ( กรุงเทพฯ : สายธาร, 2544 )
วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง,สถาปัตยกรรมในเมืองเชียงใหม่ ( เชียงใหม่ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2545 )
วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง,สถาปัตยกรรมลำพูน ( เชียงใหม่ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2545 )
สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญไชย – ล้านนา ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,2538 )
เสนอ นิลเดช,ศิลปสถาปัตยกรรมล้านนา ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,2538 )
เสนอ นิลเดช,ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย ( กรุงเทพฯ : โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538 )
วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์,วิหารล้านนา ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,2544 )
วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์,รายงานการวิจัยเรื่องวิหารปราสาทในเขตภาคเหนือตนบน
( เชียงใหม่ : ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2545)
ชาญณรงค์ ศรีสุพรรณ, ” วิหารที่สร้างในกระบวนการครูบาศรีวิชัย ”
( วิทยานิพนธ์ศิลปศาสาตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 25)
จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา,ลวดลายปูนปั้นประดับโบราณสถานในเมืองเชียงใหม่
Author : ผศ.ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ