'เตรียมคนไทยในศตวรรษที่ 21' เสร็จสิ้นไปแล้วนะครับสำหรับการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมา…

[ad_1]

'เตรียมคนไทยในศตวรรษที่ 21'

เสร็จสิ้นไปแล้วนะครับสำหรับการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 (สมัยวิสามัญ) เป็นพิเศษ

ผมขอนำเอาเนื้อหาที่ผมได้แถลงไว้ในการอภิปรายดังกล่าว เพื่อให้ Fanpage ได้ทราบถึงหลักใหญ่ใจความสำคัญในการทำงานขับเคลื่อนประเทศของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งงบประมาณจะเป็นหัวใจที่สำคัญอันหนึ่งที่จะทำให้เราขับเคลื่อนภารกิจให้เราไปสู่เป้าหมายนี้ได้ครับ

ภารกิจสำคัญของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) คือ การเตรียมประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 โดยมีภารกิจสำคัญสามเรื่อง คือ การสร้างและพัฒนาคน การวิจัยเพื่อสร้างความรู้ และการสร้างและพัฒนานวัตกรรม

การสร้างคน

ภารกิจ อว. ไม่ได้เน้นการผลิตบัณฑิตอย่างเดียวแล้ว ซึ่งการผลิตบัณฑิตแต่ละปีประมาณ 2.5 ล้านคน แต่ต้องขยายไปถึงคนที่อยู่ในการทำงาน จำเป็นต้อง Re-skill / Up-skill เพราะโลกเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน แรงงานที่มีอยู่ 38 ล้านคนในปัจจุบัน บางส่วนอาจต้องตกงาน หรือบางส่วนต้องมีการเปลี่ยนงาน ประเด็นที่หลายท่านได้อธิบายไปแล้วเรื่องคนสูงวัยนั้น ภารกิจ อว. คือ การทำงานร่วมกับกระทรวงอื่นๆ เพื่อการศึกษาและเรียนรู้ของคนสูงวัยจำนวน 11 ล้านคน บทบาทนี้ไม่เพียงแต่การศึกษาเท่านั้น แต่เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต อีกประเด็นหนึ่งซึ่งมีสมาชิกบางท่านห่วงใยเรื่องการเปิดหลักสูตรจำนวนมาก ซึ่งหลักสูตรจำนวนหนึ่งเป็นหลักสูตรที่ตอบโจทย์อาชีพ เช่น บัณฑิตพันธุ์ใหม่ ไม่เพียงแต่การเรียนการสอนในระบบ Degree แต่มี Non-degree Program ด้วย

การสร้างองค์ความรู้

การลงทุนวิจัยและพัฒนา 5 ปีที่ผ่านมา มีสัดส่วน 0.48% ต่อ GDP วันนี้ได้ขยับขึ้นเป็น 1.1% ต่อ GDP และจะเพิ่มขึ้นไปต่อเนื่อง โดยภายใน 5 ปี ควรขยับจาก 1.1% เป็น 1.5% ต่อ GDP หรือ 280,000 ล้านบาท ซึ่งงบวิจัย 80% จะมาจากเอกชน เป็นตัวคูณสมทบเพิ่มไปอีก 4-5 เท่า ของงบวิจัยภาครัฐ 24,000 ล้านบาท

ประเด็นคำถามที่ว่างานวิจัยจะไปสู่จุดไหนนั้น จากเดิมเป็นเบี้ยหัวแตก ต่างคนต่างทำ แต่ อว. มุ่งเน้นว่าการวิจัยต้องตอบโจทย์ประเทศ โจทย์เอกชน โจทย์จากชุมชน โดยแบ่งงานเป็น 4 ส่วน คือ

1) การพัฒนาคน (Brain power และ Man power)
2) การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
3) การลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาพื้นที่ ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานราก และ
4) การวิจัยตอบโจทย์ท้าทายสังคม เช่น ปัญหาขยะ ภาวะโลกร้อน ซึ่งได้แบ่งเป็น 16 โปรแกรม

จุดสำคัญคือ งานวิจัยต้องมีเป้าหมาย นายกรัฐมนตรีจึงเน้นเศรษฐกิจ BCG ซึ่งรวมด้านเกษตร อาหาร การแพทย์สุขภาพ พลังงาน วัสดุชีวภาพ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่เน้นเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องที่สร้างมูลค่าได้ 3.4 ล้านล้านบาท คิดเป็น 21% GDP และจะขยับเป็น 4.4 ล้านล้านบาท ใน 3-4 ปีข้างหน้า ประชาชน 18 ล้านคน จะได้ประโยชน์ เช่น จากการยกระดับเกษตรกรเป็น Smart farming การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ สร้างงานเพิ่มขึ้น รายได้เกษตรกร เพิ่มขึ้น

สิ่งที่จะเรียนเพิ่มเติมคือ อว. ขับเคลื่อนงานรองรับโดยการยกเครื่องมหาวิทยาลัย ภารกิจที่ผ่านมา คือ การเดินหน้าปลดล็อกข้อจำกัดของมหาวิทยาลัย แบ่งมหาวิทยาลัยออกเป็น 3 Tracks หรือ 3 ลู่วิ่ง มหาวิทยาลัยจะตอบตัวเองว่าจะวิ่งลู่ไหน

ลู่วิ่งที่ 1 มหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้แข่งนานาชาติ/ระดับโลก
ลู่วิ่งที่ 2 มหาวิทยาลัยซึ่งเน้นเทคโนโลยีและภาคอุตสาหกรรม
ลู่วิ่งที่ 3 ซึ่งต่อไปจะมีความสำคัญมาก คือ มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่


[ad_2]

Source

Loading

Scroll to Top