ว่าด้วยเรื่องการตรวจประเมินข้อเสนอโครงการวิจัย
เวลานักวิจัยส่งข้อเสนอโครงการวิจัยผ่านระบบ NRIIS เราก็ไม่รู้ว่าเขามีระบบการพิจารณาอนุมัติโครงการกันอย่างไร วันนี้มีบทสรุปจากการเวทีเมธีวิจัยพบนักวิจัยหน้าใหม่ มานำเสนอให้นักวิจัยที่ยังไม่ทราบกระบวนการพิจาณาข้อเสนอโครงการวิจัยให้ได้ทราบด้วยกัน ณ บัดนี้ เมื่อเราส่งโครงการผ่านระบบไปโดยการส่งต่อของหน่วยงานต้นสังกัด. แหล่งทุนต่างๆ จะมีกรรมการพิจารณา 2 ชุด คือ 1.กรรมการดำเนินการหรือกรรมการกลั่นกรองติดตามและประเมินผลกรรมการชุดนี้จะประกอบขึ้นด้วยกรรมการที่มาจากหลากหลายศาสตร์เกือบเป็น 10 คน บางครั้งเอาผู้แทนจากแหล่งเงินทุนอื่นเข้ามานั่งอยู่ด้วยเพื่อจะตรวจเช็คว่ามีการซ้ำซ้อนลอกเลียนหรือเปล่า กรรมการชุดนี้จะดูในภาพรวมเพื่อคัดเลือกโครงการที่ดีที่สุดเพื่อส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาให้ความเห็นอีกต่อไป (กรรมการชุดนี้สำคัญมากคล้ายๆกองบรรณาธิการวารสาร) 2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน3ท่านจะเป็นผู้รู้มาประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของข้อเสนอโครงการวิจัย ดังนั้นเมื่อเราเห็นว่ากรรมการชุดแรกมีบทบาทมาก เราก็มาดูว่าเขาทำอะไรกันบ้างในการตรวจสอบโครงการวิจัยที่เราส่งไป ซึ่งโดยทั่วไปก็จะมีภารกิจดังนี้ 1. ตรวจสอบข้อเสนอโครงการวิจัยว่าถูกต้องตามแบบฟอร์มหรือไม่ ส่งเอกสารครบหรือไม่ ส่งเลยเวลาหรือไม่ ถ้าเลยเวลาก็เก็บเข้ากล่องไม่มองอีกเลย 2. ตรวจสอบประเด็นวิจัยว่าถูกต้องตามข้อกำหนดของแหล่งทุนหรือไม่ ถ้าส่งไม่ถูกตามแหล่งทุน กรรมการกลุ่มแรกก็จะไม่ส่งต่อไปยังผู้ทรงคุณวุฒิ(กลุ่มแรกสำคัญ ผ่านกลุ่มแรกก็มีสิทธิ์ได้ไปต่อ) … Read more